วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา


 


1. การปกครองส่วนกลาง 
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุง
ระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม

โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ
ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ
กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา
ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น

ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน
ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาล
และคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง


ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น
พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดา

ข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไป
มีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่า
ราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ
ต้องใช้ความรู้ความสามารถ

ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าใน
พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล

ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง

ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว
ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น

ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา
ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ

2. การปกครองหัวเมือง
อยุธยา เป็นเมืองหลวง เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมือง นครนายก ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์ และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี
ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี และเพชรบุรี และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
 
 

เริ่ม ในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปรับปรุงแต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ


สมุหกลาโหม - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน

สมุหนายก - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน

รูปแบบการปกครองของอยุธยาใช้เรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่
ได้แยกกิจการฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน แต่การกำหนดอำนาจบังคับบัญชาดูแลกิจการทั้งสองฝ่ายตามเขตพื้นที่ ซึ่งเป็นการถ่วงดุลอำนาจของขุนนางด้วยกัน เพื่อจะได้ไม่เป็นภัยต่อราชบัลลังก์และแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายต่างๆ ดังนี้

- หัวเมืองฝ่ายเหนือ ขึ้นตรงต่อสมุหนายก
- หัวเมืองฝ่ายใต้ ขึ้นตรงต่อสมุหพระกลาโหม
- หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก ขึ้นตรงต่อเสนาบดีกรมคลัง


พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ พระราชวงศ์




1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) อู่ทอง


2 สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 - 1913 (1 ปี) อู่ทอง


3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี) สุพรรณภูมิ


4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ


สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 1931 - 1938 (7 ปี) อู่ทอง


5 สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร) 1938 - 1952 (14 ปี) อู่ทอง


6 สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว) 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ


7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ ) 1967 - 1991 (16 ปี) สุพรรณภูมิ


8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ


9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ


10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ


11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 - 2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ


12 พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 (5 เดือน) สุพรรณภูมิ


13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ


14 พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ


ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์) 2091 (42 วัน) -


15 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ


16 สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ


17 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ) 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)


18 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)


19 สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 - 2163 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)


20 พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) 2163 (ไม่ทราบที่แน่ชัด) สุโขทัย (พระร่วง)


21 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) 2163 - 2171 (8 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)


22 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2171-2173 (2 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)


23 พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2173 (36 วัน) สุโขทัย (พระร่วง)


24 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2173 - 2198 (25 ปี) ปราสาททอง


25 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2198-2199 (1 ปี) ปราสาททอง


26 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง


27 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง


28 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง


29 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2251 (6 ปี) บ้านพลูหลวง


30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2251 - 2275 (24 ปี) บ้านพลูหลวง


31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง


32 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง


33 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น