วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553


                                  การปกครองของสมัยสุโขทัย




อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรัก


ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์ อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981


การปกครองก่อนสมัยสุโขทัย

ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย

ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนใน ครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ


การปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อ ปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปกครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการ ปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของ

ประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกัน


เป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่ปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดิน


มัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป


การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้


พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ


การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง


หลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดาจะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูกฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนดความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยยาก





สุโขทัยเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ มีที่ดินทำกินมากมาย ชาวเมืองปลูกต้นไม้รอบนอกตัวเมืองสุโขทัยทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ปลูกสวนหมาก สวนพลู สวนมะม่วง สวนมะขาม ทิศตะวันตก ปลูกสวนมะม่วง ทิศเหนือ (เบื้องปลายตีนนอน) ปลูกสวนมะพร้าว และสวนหมากลาง (ขนุน) ส่วนทิศใต้ (เบื้องหัวนอน) ปลูกทั้งสวนมะม่วง สวนมะขาม สวนมะพร้าว และสวนหมากลาง ดังกล่าวไว้ในศิลาจารึก หลักที่ 1 ว่า


กลางเมืองสุโขไทนี้มีพระพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพระพิหารอันใหญ่ มีพระพิหารอันราม มีปู่ครู..... มีเถร มีมหาเถร









สังคมชาวเมืองสุโขทัย เป็นสังคมที่เรียบง่าย เพราะประชาชนมีจำนวนไม่มาก จึงใกล้ชิดสนิทสนมกันเหมือนพี่เหมือนน้อง และเคารพพระมหากษัตริย์ดุจบุตรที่มีความเคารพต่อบิดาของตน ส่วนพระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ทรงเข้าถึงจิตใจ และให้ความใกล้ชิดและเป็นกันเองกับราษฎร เมื่อราษฎรมีเรื่องทุกข์ร้อนก็สามารถกราบบังคมทูลได้ด้วยตนเอง โดยการมาสั่นกระดิ่งที่ประตูไม่ว่าจะเป็นเวลาใด พระองค์จะเสด็จมารับฟังทุกเรื่องด้วยพระองค์เอง ด้วยดังปรากฏในหลักศิลาจารึก ด้านที่ 1 ว่า " ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มันจัก กล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่ง และศิลาจารึก ด้านที่ 3 ว่า " ผิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ถือบ้านถือเมือง "




ด้านการศึกษาในสุโขทัย จะเป็นแนวสั่งสอนศีลธรรมและวิชาชีพ คือในวันพระหรือวันโกน พ่อขุนรามคำแหงจะประทับบน พระแท่นมนังคศิลากลางดงตาล สั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชน ทั้งยังได้ติดต่อช่างชาวจีนมาสอนการทำเครื่องสังคโลก ส่วนวิชาชีพ และงานบ้าน งานเรือนต่าง ๆ มีการเรียนรู้และศึกษาจากผู้ใหญ่บ้านของตน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น